จาการ์ตา มะนิลา กรุงเทพฯ เสี่ยงจมน้ำมีทางรอดหรือไม่ | อาเซียนพลัส | อาทิตย์ที่ 2 ต.ค. 2565 ข้อมูลจาก Greenpeace International ระบุว่า ภาวะจมน้ำของ 7 เมืองใหญ่ในเอเชีย จะทำให้เกิดความเสียเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 724,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (26.5 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 หรือ 2573 โดย 7 เมืองดังกล่าวคือ ฮ่องกง ไทเป โซล โตเกียว จาการ์ต้า มะนิลา และกรุงเทพ และภายในทศวรรษนี้ หรืออีก 8 ปี เมืองชายฝั่งของเอเชียและอาเซียน จะต้องเจอกับพายุใหญ่ น้ำท่วม กระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชน ดังนั้นรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับการป้องกันและเตือนภัยน้ำท่วมแต่เนิ่นๆ อย่างจริงจัง มิค ยัง คิม (Mik young Kim) ผู้จัดการโครงการสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงของ Greenpeace เอเชียตะวันออก เผยว่า ในปี 2030 ประชาชนจำนวน 15 ล้านคนที่อาศัยอยู่ใน 7 เมืองใหญ่ริมน้ำในเอเชีย จะได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก และในปี 2573 แต่ละเมืองจะเจอกับวิกฤติ ที่ต้องรับมือด่วน เช่น - กรุงเทพ คาดว่าพื้นที่ร้อยละ 96 จะเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในพื้นที่ชั้นใน - กรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย จะเจอความเสี่ยง 2 เรื่อง คือ 1) ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น 2) แผ่นดินทรุดรุนแรง เวลานี้พื้นที่ทั่วจาการ์ต้าราวร้อยละ 17 อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และคาดว่าในปี 2573 จาการ์ต้าจะพบกับน้ำท่วม จะสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 68,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 2.5 ล้านล้านบาท) - กรุงมะนิลา น้ำจะท่วมน่ากลัวว่าจาการ์ต้า เพราะพื้นที่ร้อยละ 87 ของเมืองอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล รัฐบาลต้องสูญเสียทางเศรษฐกิจ ราว 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 1.4 ล้านล้านบาท) กรีนพีซ มองว่าภาวะน้ำท่วม คือภาวะโลกร้อน สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เพราะอุณหภูมิโลกสูงขขึ้นทำให้ฝนมีปริมาณน้ำมาก รัฐบาลต้องเอาจริงกับการเลิกใช้พลังงานฟอสซิส และจริงจังกับการใช้พลังงานสะอาดที่ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำระดับโลกจากเนธอร์แลนด์เสนอแผนรับมือเมืองจมน้ำ วิคเตอร์ โคเน็น ผู้เชี่ยวเรื่องน้ำท่วมของบริษัทพีที วิตตีวีน บอส อินโดนีเซีย บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่ทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลอินโดนีเซีย เรื่องการแก้ปัญหาน้ำท่วม เสนอว่า ในปี 2554 จาการ์ต้าเคยวางแผนรับมือระดับน้ำทะเลสูงไว้แต่แผนนี้ก็ต้องยกเลิกไป เพราะกระทบกับชาวเมืองที่รายได้น้อยและหากินกับการประมงพื้นบ้าน และมีค่าใช้จ่ายสูง ขณะเดียวกันต้องใช้เวลาก่อสร้างกำแพงนี้นานราว 20 ปี ซึ่งไม่ทันกาล เกิดคำถามว่า ถ้าไม่แก้ไขอะไรเลยที่จาการ์ต้า แล้วจะอยู่กันต่ออย่างไร เขาเชื่อว่า อีกไม่นาน จาการ์ต้าจมน้ำแน่นอน แต่รัฐบาลจะหนีปัญหาน้ำท่วม ไปสร้างเมืองหลวงใหม่ที่กะลิมันตัน ในเกาะบอร์เนียว แต่ผู้เชี่ยวชาญอย่างโคเน็นมองว่า อย่างไรเสียก็ต้องจัดการปัญหาที่กรุงจาการ์ต้า เพราะประชาชนยังปักหลักอยู่ที่นั่น โดยมองตามหลักความจริงว่าประชาชนทั่วไปของจาการ์ต้า จะไม่ย้ายตามไป เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าต้องย้าย หากไม่มีทุนทรัพย์และงานใหม่ที่นั่น อย่างไรจารการ์ต้ายังคงเป็นเมืองใหญ่ที่สุด ของอินโดนีเซีย เวลานี้รัฐบาลรับมือเมืองจมน้ำ เพียงแค่ซื้อเวลา โดยโคเน็น มองว่าโครงการที่รัฐบาลทำอยู่ เป็นเพียงการซื้อเวลา คือ พัฒนาแนวกำแพงกั้นน้ำเดิม ที่ Maura Baru (มีภาพนิ่งแนวกำแพงกั้นน้ำ) ระยะทาง 110 กิโลเมตร มูลค่า 2000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 74,000 ล้านบาท) แต่หากการทรุดตัวของจาการ์ต้า ควบคุมไม่ได้ รัฐบาลต้องมีโครงการป้องกันเร่งด่วนคือ 1- สร้างแนวกำลังกั้นน้ำกลางทะเล (offshore sea wall) จำเป็นต้องมี ภายใน 15 ปี ป้องกั้นน้ำทะเลหนุน จากนอกชายฝั่ง จะต้องใช้เงินสร้างประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ( 185,000 ล้านบาท) 2- สร้างระบบระบายน้ำในเมือง 3- สร้างระบบน้ำจืดเพื่อการบริโภคภายใน โดยนายโคเนนมองว่า หากไม่ตัดสินใจทำตอนนี้ มูลค่าโครงการ จะเพิ่มเป็นสองเท่าในวันหน้าอย่างแน่อนอน รายงานจากกรีนพีซ ยังมองว่า จาการ์ต้าและกรุงเทพ อยู่ในสถานการณ์ แก้ปัญหาน้ำท่วมไม่เด็ดขาดเหมือนกัน เพราะปัญหานักการเมืองเปลี่ยนหน้าขึ้นมาทำงาน ที่ผ่านมา เป้นการแก้ไขเพียงเล็กๆน้อยๆ ในรายงานยังมีการเสนอให้ใช้โครงสร้าง ลอยน้ำ สำหรับผู้อาศัยในพื้นที่เสี่ยง บริษัท FlexBase International สัญชาติเนเธอร์แลนด์ สาขาในสิงคโปร์ เป็นผู้พัฒนาวัสดุลอยน้ำ สำหรับรับมือน้ำท่วมเมืองแล้ว แต่โครงสร้างบ้านลอยน้ำในอินโดนีเซีย ยังไม่เป็นที่ยอมรับ แต่ข้อเสนอแนะของจาการ์ต้า น่าจะปรับใช้กับกรุงเทพและอีกหลายเมืองในอาเซียนได้ #ไทย #อินโดนีเซีย #ฟิลิปปินส์ #เมืองต่ำกว่าระดับน้ำทะเล #แผ่นดินจมน้ำ #กรุงเทพฯ #มะนิลา #จาการ์ต้า #แนวกำแพงกั้นน้ำ #โครงสร้างบ้านลอยน้ำ ------------------------------------------ #TNN #อาเซียน4.0 #อาเซียน4.0ออนไลน์ #อาเซียนพลัส #อาเซียน #ASEANplus ติดตามทุกความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจอาเซียนได้ใน รายการ อาเซียน Plus ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.30-10.00น. ทาง TNNช่อง16 และ รายการ อาเซียน 4.0 ONLINE ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.00-17.30น. รับชมสด ได้ทาง Youtube: TNN Online และ FACEBOOK LIVE PAGE : TNN LIVE ------------------------------------------ ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16 https://www.tnnthailand.com https://tv.trueid.net/live/tnn16 https://www.youtube.com/c/tnn16 https://www.facebook.com/TNNthailand/ https://www.facebook.com/TNN16LIVE/ https://twitter.com/tnnthailand https://www.instagram.com/tnn_online/ https://www.tiktok.com/@tnnonline Line @TNNONLINE หรือคลิก https://lin.ee/4fP2tltIo ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ